วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

อาหารที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งควรเลือกรับประทาน

เมื่อทราบว่าป่วยเป็นโรคมะเร็งแพทย์จะให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับแนวทางในการรักษา รวมไปถึงการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเพื่อให้การรักษาเป็นไปได้ดีและสอดคล้องกัน ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีผลกระทบต่อการบริโภคของผู้ป่วยด้วย โดยเฉพาะในเรื่องการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งอาหารที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งควรรับประทานจะมีดังนี้





1. เลือกรับประทานอาหารให้ครบหลักโภชนาการ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายสามารถได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนในแต่ละวัน เพราะร่างกายต้องนำสารอาหารเหล่านี้ไปใช้เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอภายในร่างกาย

2. ผู้ป่วยมักมีอาการท้องผูกจึงควรเลือกรับประทานผักและผลไม้ที่มีกากใยสูง เพื่อช่วยในเรื่องของการขับถ่าย สำหรับผักและผลไม้ที่ควรเลือกรับประทานเช่น กะหล่ำปลี คะน้า กวางตุ้ง บร็อคโคลี่ ผักบุ้ง ถั่วฟักยาว เป็นต้น สำหรับผลไม้ก็อย่างเช่น ฝรั่ง แอปเปิ้ล มะละกอ สับปะรด แก้วมังกร เป็นต้น

3. ควรหันมาบริโภคอาหารประเภทธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ลูกเดือย ถั่วต่างๆ เพราะอาหารเหล่านี้จะมีกากใยสูง มีไขมันต่ำ และอุดมไปด้วยสารอาหารและแร่ธาตุที่มีประโยชน์หลายอย่างต่อร่างกาย นอกจากจะช่วยในเรื่องการบำรุงร่างกายได้แล้ว ยังมีส่วนในการช่วยควบคุมน้ำหนัก และทำให้ผู้ป่วยขับถ่ายได้เป็นปกติอีกด้วย



4. ดื่มน้ำเปล่าเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอหรืออย่างน้อยควรดื่มให้ได้วันละ 7-8 แก้ว เพราะน้ำมีส่วนในการช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดในร่างกายเป็นปกติ และช่วยขจัดของเสียออกจากร่างกาย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องทำการฉายแสง และให้คีโม อาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนเกิดขึ้นและรับประทานอาหารได้ลำบาก การดื่มน้ำจะช่วยบรรเทาอาการต่างๆ เหล่านี้ให้ดีขึ้น

5. ในช่วงนี้ให้หลีกเลี่ยงอาหารประเภทปิ้งยาง ปลาเค็ม เนื้อเค็ม และอาหารหมักดอง เพราะอาหารต่างๆ เหล่านี้มีสารก่อมะเร็ง รวมไปถึงอาหารที่ไม่สุกดีพอ พวกเนื้อย่างสุกๆ ดิบๆ ก็ไม่ควรรับประทานเช่นเดียวกัน แต่ให้หันมารับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ  สะอาดและมีประโยชน์ต่อร่างกาย



6. ถ้าต้องการดื่มนมให้เลือกดื่มนมแบบพร่องมันเนย มีไขมันและน้ำตาลต่ำ จะดีและมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากกว่านมปรุงแต่งที่มีรสชาติหวาน

7. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาด รวมไปถึงผู้ที่สูบบุหรี่ก็ควรเลิกสูบบุหรี่ด้วยเช่นกัน เพราะทั้งแอลกอฮอล์และบุหรี่มีสารก่อมะเร็งด้วยกันทั้งนั้น และยังมีส่วนทำให้สุขภาพของผู้ป่วยแย่ลงไปกว่าเดิมได้อีกด้วย

เพียงปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็จะมีส่วนในการช่วยให้อาการของโรคมะเร็งดีขึ้น ถ้าการรักษาได้ผลดีคุณก็มีโอกาสที่จะหายจากโรคมะเร็งได้ในเวลาไม่นาน 


วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

โรคเบาหวาน

 โรคเบาหวาน 




ตามสถิติของ สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (IDF) ประมาณการจำนวนผู้ป่วยเบาหวานในปี 2556 ทั่วโลกมีจำนวนประมาณ 371 ล้านคน ในส่วนของประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขประมาณการว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานในประเทศไทยประมาณ 3.5 ล้านคน ถ้าดูจากของกระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2555 มีผู้ป่วยในความดูแลของเขตบริการสาธารณสุขทั่วประเทศจำนวน 674,826 คน เปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วยเมื่อปี พ.ศ.2550 ที่มีจำนวน 500,347 คน จะเห็นได้ว่ามีผู้ป่วยเบาหวานเข้ามารับการรักษาจากเขตบริการสาธารณสุขเพิ่มขึ้นทุกๆ ปีเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยถึง 1 ใน 3 ที่ยังไม่ได้เข้ามาอยู่ในกระบวนการรักษาของเขตบริการสาธารณสุข เนื่องจากผู้ป่วยยังไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่มีเวลาในการดูเลรักษาตัวเอง


    ระบบการทำงานของร่างกายโดยทั่วไป เมื่อคนเราบริโภคอาหารต่างๆ แล้ว ร่างกายจะแยกสารอาหารส่วนที่เป็นคาโบไฮเดรตไปเข้าสู่กระบวนการแปลงเป็นน้ำตาลกลูโคสและลำเลียงไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยทางกระแสเลือด เซลล์ในร่างกายจะรับน้ำตาลเข้ามาเพื่อใช้เป็นพลังงานได้โดยมีตัวนำที่สำคัญคืออินซูลิน อินซูลินนั้นเป็นสารสงเคราะห์ที่ได้มาจากการทำงานของเบตาเซลล์ในตับอ่อน เมื่ออินซูลินในร่างกายมีปริมาณไม่เพียงพอหรือไม่สามารถสงเคราะห์น้ำตาลกลูโคสหรือทำงานบกพร่องโดยสาเหตุใดๆ ก็ตาม ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลกลูโคลส ไปให้เซลล์ใช้เป็นพลังงานได้เต็มที่ ส่งผลให้มีน้ำตาลกลูโคสตกค้างอยู่ในกระแสเลือด นานๆ เข้าร่างกายก็จะเกิดอาการแทรกซ้อนขึ้นมาได้ โดยเฉพาะกับอวัยวะที่สำคัญคือ ไต ตาและระบบประสาท ตามธรรมชาติร่างกายจะกำจัดสารที่เกินความจำเป็นต่อร่างกายออกไป ในกรณีนี้คือน้ำตาลกลูโคส ก็จะถูกระบายออกทางปัสสาวะ เป็นอาการของโรคเบาหวานที่สังเกตได้อย่างหนึ่ง  ดังนั้น โรคเบาหวานก็คือภาวะของร่างกายที่มีอินซูลินไม่เพียงพอหรือมีอินซูลินบกพร่องนั่นเอง



โรคเบาหวาน จำแนกได้ 3 ชนิดคือ


    -  เบาหวานประเภท 1 เกิดจากความบกพร่องของเบตาเซลล์ในตับอ่อนทำให้ร่างกายผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่วนใหญ่จะเกิดกับเด็กหรือคนที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี คนป่วยมักมีรูปร่างผอม มีอาการหมดสติเนื่องจากขาดอินซูลิน ในประเทศไทยมีคนป่วยประเภทนี้ไม่ถึง 5%

    - เบาหวานประเภท 2 เกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน หรือมีการหลั่งอินซูลินน้อย เป็นประเภทที่มีมากที่สุด คนป่วยมักจะเป็นคนที่มีรูปร่างอ้วนหรือมีคนในครอบครัวที่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว(กรรมพันธุ์) 

    - เบาหวานประเภท 3 เป็นเบาหวานที่เกิดขณะตั้งครรภ์ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในขณะตั้งครรภ์ ซึ่งผู้ป่วยอาจจะไม่มีกรรมพันธุ์เกี่ยวกับเบาหวาน และมีโอกาสที่จะเป็นเบาหวานประเภท 2 ได้เมื่อมีอายุมากขึ้น


    ในระดับสากลโรคเบาหวานเป็นโรคที่ถูกยกให้เป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชนโลกอย่างร้ายแรง มีผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานจำนวนมากและเป็นภัยคุกคามทางเศรษฐกิจอย่างหนึ่งเพราะทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก


CELLFOOD อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน รักษาแผลเบาหวานได้  http://www.thaimgreen.com




วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง

โรคมะเร็ง

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งจะมีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัย แต่สามารถแบ่งออกเป็นสาเหตุทั่วไปได้ 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากสภาพแวดล้อม และปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย แต่ปัจจัยเสี่ยงที่พบมากที่สุดมักจะมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยภายนอกมากกว่าปัจจัยภายใน โดยเราสามารถแจกแจงรายละเอียดทั้ง 2 ปัจจัยได้ดังนี้



1. ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งที่เกิดจากสภาพแวดล้อม เช่น


- รังสียูวีจากแสงแดด โดยเฉพาะแสงแดดในช่วงระหว่าง 10.00 น. ถึง 15.00 น. จะเป็นช่วงที่ในแสงแดดจะมีแสงยูวีมากที่สุด ถ้าเราออกไปตากแดดช่วงนี้เป็นประจำก็มีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้
- การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ เป็นประจำก็มีส่วนทำให้มีความผิดปกติเกิดขึ้นภายในร่างกายได้ โดยเฉพาะบุหรี่ถึงแม้เราไม่ได้สูบแต่อยู่ใกล้ผู้ที่สูบบุหรี่ก็มีส่วนทำให้เราอาจจะป่วยเป็นโรคมะเร็งได้
- การอยู่ในที่ที่มีมลภาวะเป็นพิษ เช่น ต้องเจอกับฝุ่นควัน ท่อไอเสียรถยนต์ หรืออยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
- การอยู่ในสถานที่ที่มีแสงสว่างจ้ามากเกินไป หรือการทำงานที่ต้องมองแสงแจ้งๆ เป็นประจำ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้คุณเกิดเป็นโรคมะเร็วที่เกิดจากดวงตาได้เช่นกัน

2. ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกาย เช่น


- การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น เชื้อไวรัสตับอักเสบบี เชื้อไวรัสฮิวแมนแพบพิลโลมา รวมไปถึงการติดเชื้อพยาธิบางชนิดก็เป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้คุณเกิดโรคมะเร็งขึ้นได้
- การเกิดการผิดปกติในการแบ่งเนื้อเยื่อหรือเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกาย ที่มีมากเกินความจำเป็นจนกลายเป็นเซลล์มะเร็งไปในที่สุด
- การได้รับสารปนเปื้อนในอาหารและน้ำดื่ม และเราได้ทำการบริโภคเป็นประจำ รวมไปถึงการรับประทานอาหารประเภทปิ้งยางก็ล้วนมีสารก่อมะเร็งด้วยกันทั้งนั้น
- เด็กที่มีความพิการมาตั้งแต่เกิด มีผลการวิจัยระบุว่ามีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมากกว่าเด็กปกติทั่วไป
- ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคมะเร็ง คุณก็มีแนวโน้มในการป่วยเป็นโรคมะเร็งได้เช่นเดียวกัน เพราะโรคนี้ก็มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม
- ผู้ที่ติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับ คุณก็จะมีความเสี่ยงในเกิดโรคมะเร็งถุงน้ำดีในตับ ที่สำคัญตับจัดได้ว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญของคนเรา เพราะเป็นส่วนที่ช่วยขจัดของเสียและสารพิษที่ตกค้างออกจากร่างกาย ถ้าตับของเราทำงานได้ไม่ดีแล้วก็จะมีผลทำให้ส่วนอื่นๆ ของร่างกายแย่ลงไปด้วย



สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งดูเหมือนว่าจะมีหลายสาเหตุ ดังนั้นคุณจึงควรหันมาใส่ใจตัวเองเพื่อเป็นช่วยป้องกันให้เราห่างไกลจากโรคมะเร็ง

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

การตรวจค้นหา มะเร็งระยะเริ่มแรก

มะเร็งเป็นโรคที่ทุกๆคนไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชาย เด็ก หรือ แก่ ไม่ว่าวัยไหนทุกคนๆก็ไม่อยากแม้แต่จะให้คนในครอบครัวต้องประสบกับโรคนี้ แต่เรื่องของโรคภัยไข้เจ็บเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถห้ามได้และโรคมะเร็งเป็นโรคที่ถือได้ว่าเป็นโรคเงียบอีกโรคนึงก็ได้


เพระในระยะเริ่มแรกนั้นจะไม่แสดงอาการออกมา ส่วนใหญ่มักตรวจพบเมื่อมีอาการในระยะที่ 2 ไปแล้ว ซึ่งน้อยคนนักจะเจอในระยะแรกเริ่ม ซึ่งการตรวจค้นหามะเร็งนั้นสำหรับผู้ที่ตรวจร่างกายเป็นประจำทุกๆปีโอกาสเสี่ยงที่จะพบเมื่อเป็นในระยะที่ 2 หรือ 3 แล้วนั้นค่อนข้างน้อยมาก ส่วนมากจะเจอตั้งแต่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรค หรือ บุคคลทั่วไปที่ไม่ได้ตรวจร่างกายเป็นประจำก็สามารถตรวจหามะเร็งได้หากมีอาการที่สงสัยหรือคิดว่าตัวเองมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็ง เช่น มีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ หรือ เสียชีวิตด้วยโรคนี้หรือไม่ เพราะบางชนิดของมะเร็งก็ส่งผลทางกรรมพันธุ์ด้วย และปัจจัยเสี่ยงในการดำรงชีวิต การใช้ชีวิตในปัจจุบัน เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หรือ ป่วยด้วยโรคอื่นๆหรือโรคเรื้อรังที่สามารถทำให้เสี่ยงต่อการกลายเป็นมะเร็ง ซึ่งทั้งหมดนี้เราสามารถตรวจหามะเร็งด้วยตัวเองได้บ้างเช่น


ในผู้หญิงสิ่งที่หลายๆคนกลัวคือมะเร็งเต้านม และมะเร็งมดลูก ซึ่งอาการที่สังเกตได้และถือเป็นการตรวจมะเร็งในระยะเริ่มต้นด้วยตัวเองคือ การคลำเต้านมหากพบว่ามีก้อนและเจ็บนั่นคือสัญญาณว่ามีอาการผิดปรกติต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจละเอียด และอาการปวดในขณะมีประจำเดือนที่ปวดผิดปรกติหรือหลังหมดประจำเดือนรวมถึงการมีประจำเดือนบ่อยครั้งในรอบ 1 เดือน หรือ มีเลือดประจำเดือนสีคล้ำ เยอะ ส่งกลิ่นที่ผิดปรกติก็ถือเป็นสัญญาณที่ต้องไปพบแพทย์เช่นกัน ส่วนผู้ชายนั้นส่วนใหญ่มักกลัวมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งอาการที่จะแสดงออกมาคือปัสสาวะขัด ปัสสาวะไม่พุ่งเหมือนปรกติ มีเลือดและอสุจิปนออกมาในปัสสาวะ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ชายที่วัยเกิน 50 แต่อายุที่ต่ำกว่านี้ก็มีโอกาสเสี่ยงด้วยเช่นกันเช่นในผู้ชายที่สูบบุหรี่เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีมะเร็งในส่วนอื่นๆที่ควรตรวจและสังเกตจากอาการผิดปรกติด้วยตัวเองเช่น ท้องอืดบ่อยๆ ปวดท้องมากหรือบ่อยผิดปรกติ ซึ่งมีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ การดื่มสุราจัดก็มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งตับ และ การสูบบุหรี่ก็เสี่ยงเป็นมะเร็งปอด ซึ่งหากไม่อยากเป็นโรคมะเร็งสิ่งที่ต้องทำคือตรวจร่างกายเป็นประจำทุกๆปี เพราะแพทย์จะมีวิธีการตรวจต่างๆตั้งแต่การซักประวัติ การตรวจเลือด การเอ็กซเรย์ การทำสแกน และอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดจะสามารถค้นพบมะเร็งได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นเพื่อให้สามารถรักษาได้ทันท่วงที

จะดีไหมถ้าเรารู้จักการป้องกันมะเร็ง ง่ายๆด้วยการ ทานอาหารเสริม ลดอนุมูลอิสระ ต้นตอการเกิดมะเร็ง ATM CELLFOOD http://www.thaimgreen.com/cellfood/

วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557

ปัญหาสุขภาพเพศชาย ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

ปัญหาสุขภาพเพศชาย ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ สำหรับเพศชายนั้น เป็นเรื่องใหญ่ของผู้ชายทั่วทั้งโลก ดังนั้นหลายๆคนจึงไม่อยากให้เกิดสภาวะดังกล่าวกับตัวเอง ซึ่งสภาวะดังกล่าวนั้นสามารถเกิดได้จากปัจจัยต่างๆเหล่านี้


1.มีโรคประจำตัวต่างๆ 

เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไต พิษสุราเรื้อรัง ซึ่งจะส่งผลต่อระบบการหมุนเวียนของเลือดที่ส่งไปเลี้ยงอวัยวะเพศชายโดยตรง รวมถึงโรคที่เกิดจากระบบประสาทต่างๆด้วย โรคหัวใจ และ โรคหลอดเลือดก็ถือเป็นปัจจัยด้วยเช่นกัน

2.ปัจจัยภายนอกจากการดำรงชีวิต 

เช่น การสูบุหรี่ การมีน้ำหนักตัวเยอะ หรือ อ้วน การไม่ได้ออกกำลังกาย การใช้ยารักษาโรคบางชนิดเป็นประจำ ความเครียด ปัญหาทางสภาพจิตใจ เช่น ความกังวล โรคซึมเศร้า


3.ความผิดปรกติของฮอร์โมนเพศชาย 

และ การที่มีอายุสูงขึ้น ร่างกายก็จะส่งผลตามสภาพอายุ การเสื่อมถอยของระบบต่างๆ รวมถึงการเกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

การดูแลตนเองในเบื้องต้น 

หากไม่อยากให้เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ในเบื้องต้นควรดูแลร่างกายและสุขภาพกายสุขภาพใจด้วยตัวเองก่อน หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น งดดื่มเหล้า งดสูบบุหรี่ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย ลดความเครียด และ สร้างสภาวะจิตใจที่ดี ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ พบแพทย์เพื่อปรึกษาโรคประจำตัวและยาที่ต้องรับประทานเป็นระยะเวลานานๆ หากไม่มั่นใจว่าร่างกายเกิดสภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ควรไปพบแพทย์ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงของยา และ อาการแทรกซ้อนต่างๆ


การรักษา

ทางการแพทย์มีการรักษาหลายวิธีตามอาการและสภาวะของผู้ป่วย เช่น บางคนเกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศเพราะสภาพจิตใจแพทย์จะบำบัดโดยการรักษาทางจิตให้ หรือ บางคนอาจต้องใช้ยาแพทย์จะเลือกยาที่เหมาะสม เพราะมีหลายชนิด ทั้ง กิน และ ฉีด หรือ เลือกอุปกรณ์บำบัดเบื้องต้นเพื่อช่วยในการรักษา และยารักษานั้นก็มีหลายกลุ่ม และ ยังส่งผลต่อร่างกายในระยะยาว แพทย์จึงต้องดูตามความเหมาะสมของร่างกาย อายุ โรคประจำตัว และ ต้องดูด้วยว่ามีผลกับยาที่ทานเป็นประจำหรือไม่ เพราะยาบางชนิดส่งผลโดยตรงกับระบบสมอง ระบบหัวใจ และ ก่อให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น ใจสั่น ดังนั้นการเลือกยาในการรักษาแพทย์จึงพิถีพิถันมากและต้องดูจากอาการของผู้ป่วยเป็นหลักด้วย

ดังนั้นภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม การรักษาโดยแพทย์เป็นการรักษาที่ดีและได้ผลที่สุด และ ไม่ส่งผลต่อโรคประจำตัว หรือ ผลข้างเคียงจากการใช้ยาเกินขนาดหรือการรักษาที่ผิดวิธี เพราะหากไม่พบแพทย์อาการก็จะแย่ลงและอาจกลายเป็นกามตายด้านได้ในที่สุด หรือ รักษาโดยการซื้อยาทานเอง หรือ รักษากับหมอเถื่อน อากาสที่เสียชีวิตหรือเสียอวัยวะเพศไปเลยนั้นมีสูง ดังนั้นอย่าอายที่จะพบแพทย์เพราะภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ สามารถรักษาได้แต่ต้องรักษาอย่างถูกวิธี

อาหารเสริม สำหรับท่านชาย DoReMe ฟาโซลา 
www.thaimgreen.com/do-re-me/

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

เซลล์ไขมันสีขาว และ เซลล์ไขมันสีน้ำตาล

ไขมันสีขาว ไขมันสีน้ำตาล


ไขมันใต้ผิวหนังของคนเรานั้นมีสัดส่วนที่ค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักของร่างกาย ในเพศชายที่มีน้ำหนักตัวปกตินั้นจะมีไขมันประมาณ 9-18% ของร่างกาย และเพศหญิงที่มีน้ำหนักตัวปกติ จะมีไขมันประมาณ 14-20% ของร่างกาย ด้วยเหตุนี้เพศหญิงส่วนมากมีผิวนุ่มมากกว่าเพศชาย เนื่องจากมีชั้นไขมันหนากว่า นอกจากนี้บุคคลที่มีรูปร่างอ้วนจะมีสัดส่วนของไขมันเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า หรือเท่ากับ 60-70% ของน้ำหนักตัวเลยทีเดียวไขมันใต้ผิวหนังประกอบด้วย 3 ส่วนคร่าวๆ คือ เซลล์ไขมัน เนื้อเยื่อพังผืด และเส้นเลือด

หน้าที่หลักของชั้นไขมันใต้ผิวหนัง เป็นแหล่งเก็บสะสมพลังงานของร่างกาย อีกทั้งยังเป็นที่อยู่ของวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค เป็นต้น ช่วยป้องกันความร้อน ความเย็น รักษาอุณหภูมิในร่างกายให้ปกติ ช่วยห่อหุ้มร่างกาย ทำให้คนเรามีรูปร่างส่วนเว้าส่วนโค้ง และเป็นเหมือเกราะกันกระแทกไม่ให้อวัยวะภายในโดนทำลาย

เซลล์ไขมันของคนเรายังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ เซลล์ไขมันสีขาว และ เซลล์ไขมันสีน้ำตาล แต่ถ้าเรามองด้วยตาเปล่า เราจะเห็นเซลล์ไขมันสีขาวเป็นสีเหลือง เนื่องจากมีการสะสมเบต้าแคโรทีนไว้มาก ส่วนไขมันสีน้ำตาล หากมองด้วยตาเปล่าก็จะเห็นเป็นสีน้ำตาลเพราะมีเส้นเลือดมาเลี้ยงเยอะ

ชั้นของไขมันใต้ผิวหนัง สามารถแบ่งเป็น 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นบนสุดเป็นชั้นที่ติดกับผิวหนังด้านบน มีหน้าที่ห่อหุ้มต่อมเหงื่อ และรากขน ชั้นถัดมาเป็นชั้นกลาง ซึ่งผิวหนังบางบริเวณบริเวณของร่างกายจะไม่มีชั้นนี้ เช่น หนังตา ฐานเล็บ สันจมูก มีหน้าที่รองรับแรงกระแทก ส่วนชั้นสุดท้ายเป็นชั้นสร้างรูปร่างจะเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ และอาหารที่รับประทานเข้าไป ชั้นนี้เป็นชั้นที่มีพังผืด และไขมัน หากชั้นนี้มีการเจริญเติบโตมากจะก่อให้เกิดเซลลูไลท์ หรือผิวเปลือกส้ม



การสะสมของไขมันในเด็กและผู้ใหญ่นั้นแตกต่างกัน สังเกตได้จากในเด็กทารกจะมีไขมันห่อหุ้มเท่ากันทุกส่วนของร่างกาย แต่ในผู้ใหญ่นั้นไขมันจะกระจายตามร่างกายและสะสมเป็นจุดๆ ทำให้เกิดไขมันส่วนเกินเป็นบางส่วนตามแขน ขา สะโพก หน้าท้อง จะเห็นได้ว่าเมื่ออายุเพิ่มขึ้นก็จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับชั้นไขมันด้วยเช่นกัน ปัจจุบันจึงได้มีวิวัฒนาการในการดูดไขมันบางจุด เช่น ต้นขา หน้าท้อง มาปั่นใหม่เพื่อให้แยกส่วนที่เป็น Fat Stem Cell และผสมกับเซลล์ไขมันปกติ แล้วนำฉีดในบริเวณที่มีริ้วรอย ซึ่งสามารถสร้างคอลาเจน และเส้นเลือดใหม่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาริ้วรอย กระตุ้นให้หน้าใส เติมเต็มริ้วรอยตามร่องแก้ม และหน้าผากได้



ไขมันในร่างกายของคนเราไม่ใช่ว่าจะมีข้อเสียเพียงอย่างเดียว ถ้าหากเราใช้ให้ถูกวิธี ถูกประโยชน์ หรือควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็จะมีประโยชน์ได้เหมือนกัน

ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดไขมันขาว HIPPOX ฮิปพอกซ์ อาหารเสริมสำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนัก ลดไขมันส่วนเกิน

ติดตามรายละเอียดของ อาหารเสริม คุณภาพได้ที่เวป www.thaimgreen.com


วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การรักษาโรคมะเร็ง มีผลให้ผู้ป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันต่ำ สามารถรักษาด้วยโภชนบำบัด


ในการรักษาโรคมะเร็งด้วยเคมีบำบัดหรือการปลูกถ่ายไขกระดูกสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งในระบบเลือดนั้น ปัญหาและผลข้างเคียงที่ต้องเกิดขึ้นอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คือ การเกิดความเสี่ยงของการติดเชื้อฉวยโอกาส ซึ่งเกิดจากการที่ Neutropenia ในร่างกายต่ำมากเกินไป หรือพูดให้เข้าใจมากขึ้นคือผลจากการรักษาด้วยเคมีบำบัดและการปลูกถ่ายไขกระดูกทำให้เกิด ภูมิคุ้มกันต่ำ ในร่างกายของผู้ป่วย


ผลเสียของการเกิดภูมิคุ้มกันต่ำ


ในผู้ป่วยที่ได้รับผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งจนเกิดภาวะภูมิคุ้มกันต่ำนั้น ส่งผลเสียต่อร่างกายหลายประการอย่างเช่น การติดเชื้อได้ง่าย เกิดอาการท้องเสีย ถ่ายท้องบ่อย ซึ่งโดยปกติผู้ป่วยโรคมะเร็งจะมีภาวะของการขาดสารอาหารหรือในการทางแพทย์เรียกว่า ภาวะทุพโภชนาการ เป็นปกติอยู่แล้ว เมื่อร่างกายเกิดการติดเชื้อจนเกิดอาการท้องเสีย จะยิ่งส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหารเพิ่มมากขึ้น ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง และในบางรายอาจมีการติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรงจนไม่สามารถรักษาด้วยเคมีบำบัดต่อได้ ดังนั้นผู้ป่วยมะเร็งที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ จึงจำเป็นต้องระมัดระวังในเรื่องของการรับประทานอาหารมากขึ้นเป็นพิเศษ

จัดการกับอาหารที่ทำให้ร่างกายติดเชื้อได้ง่าย


ในบางครั้งการติดเชื้อของผู้ป่วยอาจเกิดจากอาหารที่ปรุงไม่สุก ดังนั้นอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ จึงจำเป็นต้องปรุงอาหารให้สุกและผ่านความร้อนที่เพียงพอรวมทั้งต้องมีความสะอาดในทุกขั้นตอน

เป็นความจริงที่เราอาจไม่เคยรู้ว่า แม้นแต่อาหารที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส ยังสามารถตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อ ดังนั้นอาหารสำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำต้องผ่านการปรุงโดยใช้อุณหภูมิที่สูงมากเพื่อฆ่าเชื้อโรคและต้องรับประทานอาหารเหล่านั้นทันทีหรือไม่เกิน 3 ชั่วโมง เพราะเชื้อจุลินทรีย์อาจเจริญเติบโตได้อีกครั้ง

หลักการจัดการอาหารสำหรับผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ


1. อาหารในกลุ่มผักและผลไม้ - ผักและผลไม้ที่เหมาะสมกับผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ ไม่ควรเป็นผักและผลไม้สด แต่ควร ผ่านความร้อนแล้ว อย่างเช่น ผักและผลไม้กระป๋อง
2. อาหารในกลุ่มเนื้อสัตว์ - เนื้อสัตว์ทุกชนิดที่จะรับประทานต้องผ่านความร้อนที่สูง จนมั่นใจว่าเชื้อโรคต่าง ๆ ถูกความร้อนทำลายไปหมดแล้ว - ควรงดเว้นเบคอนและไส้กรอกรมควัน
3. อาหารในกลุ่มเบเกอรี่ - อาหารในกลุ่มนี้สามารถรับประทานได้ แต่ต้องอยู่ในภาชนะที่ปิดสนิทมิดชิดและทานได้หมดเพียงครั้งเดียว ควรงดคัสตาร์ดและมายองเนส

ข้อควรระวังในการปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ


1. ในการปรุงอาหารสามารถใช้วัตถุปรุงแต่งรสได้ แต่ต้องปรุงให้สุกพร้อมกับอาหาร อย่างใช้พริกไทยหรือกระเทียมโรยหน้าโดยไม่ผ่านการปรุงก่อนการรับประทาน
2. ควรล้างภาชนะสำหรับใส่อาหารให้สะอาดและอาจฆ่าเชื้อด้วยการนำมาลวกด้วยน้ำร้อนก่อนการใช้อีกครั้ง
3. ต้องปรุงอาหารให้สุกทุกครั้งก่อนการรับประทานเสมอ
4. วัตถุดิบในการปรุงอาหารต้องมีคุณภาพไม่เสียง่าย หากเป็นอาหารกระป๋อง ต้องไม่บุบหรือมีสนิม

สิ่งที่เราต้องระมัดระวังอย่างมากที่สุดสำหรับ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง และ ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ คือการให้ผู้ป่วยได้รับ ประทานอาหารที่ปรุงสุกและปราศจากเชื้อโรค เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งเดียวที่จะทำให้ผู้ป่วยสามารถได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และไม่ติดเชื้อจนส่งผลเสียต่อร่างกายได้โดยง่าย...


ATM CELLFOOD  - ThaiMGreen